1. ภูมิปัญญาด้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน ชื่อภูมิปัญญา หัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่
2. ข้อมูลพื้นฐานภูมิปัญญา
กรณีรายบุคคล
นายอ๋อย วงศ์เนียม วันเดือนปีเกิด 2 กรกฎาคม 2484 ที่อยู่ปัจจุบัน (ที่สามารถติดต่อได้) เลขที่ 64 หมู่ที่ 10 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110 พิกัดบ้านเนินไม้หอม เบอร์โทรศัพท์ : 081-0013459 LINE ID.........-......... Facebook.........-..........
3. จุดเด่นของภูมิปัญญา
งานหัตกรรมการจักสานเป็นการนำวัสดุขนาดเล็กและยาวมาขัดสาน กันจนเป็นชิ้นงาน โดยวัสดุที่ใช้สานเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ หวาย ปอ กระจูด เป็นต้น และเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมของคนกลุ่มที่ต้องการเครื่องหัตถกรรมจักสานแบบโบราณ
4. ที่มาของภูมิปัญญา
นายอ๋อย วงศ์เนียม ได้สืบทอดการทำผลิตภัณฑ์การจักสานที่ประกอบไปด้วย กะโล้ กระจาด กระบุง มาจากบรรพบุรุษ โดยปัจจุบัน นายอ๋อย วงศ์เนียม ยังคงทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานอย่างต่อเนื่อง
5. รายละเอียดภูมิปัญญา (ลักษณะภูมิปัญญา/รูปแบบ/วิธีการ/เทคนิคที่ใช้/ภาพถ่าย หรือภาพวาดประกอบ/พัฒนาการของผลิตภัณฑ์ หรือผลงาน/กระบวนการสร้างภูมิปัญญา/ลักษณะการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาที่เกิดขึ้น
วัสดุและอุปกรณ์ในการทำหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ประกอบด้วย ไม้ไผ่ มีดอีโต้ สำหรับผ่าไม้ไผ่ มีดสำหรับจักตอก มีดสำหรับเหลาขอบ กรรไกร กาว ค้อน
ขั้นตอนการผลิต
การจักตอก
1. การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้น ๆ ตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก) จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบาง ๆ แล้วเหลาให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง
2. การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอก จะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการเหลาให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดดให้แห้ง
การสาน
การสาน เป็นขั้นตอนที่ยากและต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอก 2 ชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันทั้งเส้นตอกปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็กและค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก
การเข้าขอบและหู
เข้าขอบและใส่หู หรือที่หิ้ว ซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ ใช้เชือก หรือหวายพันให้แน่น หรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่มือจับจนมิด
ความสวยงามและคงทน
หากต้องการความสวยงาม ให้ทำด้วยการย้อมสีและหากต้องการเก็บไว้ใช้งานได้นาน ทาแล็คเกอร์เคลือบไม้ไผ่ ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง3
6. รูปแบบและลักษณะการถ่ายทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ที่สะท้อนความน่าเชื่อถือ การยอมรับผ่านบุคคล/ชุมชน/องค์กร/รางวัล/ใบประกาศ/การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สื่อดิจิทัล/เอกสารเผยแพร่ คลิป VDO ฯลฯ)
- เข้าไปให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษา เรื่องการจักสาน ณ กศน.ตำบลกระแสบน หมู่ที่ 10 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
- ให้ความรู้กับผู้ที่สนใจที่เข้ามาเรียนรู้
7. การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาให้เป็นนวัตกรรม คุณค่า (มูลค่า) และความภาคภูมิใจ การออกแบบ
พัฒนาการผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานให้มีรูปแบบที่แปลกใหม่
8. แหล่งอ้างอิง : ผู้จัดเก็บข้อมูล (พร้อมเบอร์โทร/LINE ID)
นางสาวนัทนา บุษรากรณ์ ตำแหน่งครู กศน.ตำบล วันที่เก็บข้อมูล 8 มีนาคม 2563 หน่วยงาน/สถานศึกษา กศน.ตำบลกระแสบน กศน.อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โทร : 091-4052677 LINE ID : sayfon2677 E-mail : nattana.buntho@gmail.com
9. ผู้รวบรวมข้อมูล
นางสาวพัชญ์ธินันท์ ลู่สวัสดิกุล ตำแหน่งบรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอแกลง |