1. ภูมิปัญญาด้าน การแพทย์ ชื่อภูมิปัญญา การทำสมุนไพรลูกประคบ
2. ข้อมูลพื้นฐานภูมิปัญญา
กรณีรายบุคคล
นางนพพร บำรุงราษฎร์ วันเดือนปีเกิด 3 มิถุนายน 2496 ที่อยู่ปัจจุบัน (ที่สามารถติดต่อได้) เลขที่ 28 หมู่ที่ 2 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110 พิกัดบ้านรางตาไท เบอร์โทรศัพท์............-............ LINE ID..........-.......... Facebook...........-............
3. จุดเด่นของภูมิปัญญา
ลูกประคบเป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ ช่วยเรื่องการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย บำรุงผิวพรรณ กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในสมุนไพรช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลายความเครียด
4. ที่มาของภูมิปัญญา
ลูกประคบสมุนไพรและสมุนไพรอบตัวเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ ในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย บำรุงผิวพรรณ ลูกประคบและสมุนไพรอบตัวมีพืชสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ผิวมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย ใบหนาด ใบพลับพลึง การบูร พิมเสน ลูกประคบและสมุนไพรอบตัวมีอยู่ด้วยกันหลายสูตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจะใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นส่วนประกอบ การทำลูกประคบสมุนไพรแบบแห้ง โดยนำสมุนไพรมาทำความสะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทำให้แห้งโดยการอบ หรือตากแดด และห่อสมุนไพรแห้งด้วยผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลม ๆ หรืออาจทำเป็นหมอน หรือถุงผ้า จากนั้นนำไปนึ่งให้อุ่น ๆ วางประคบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ ส่วนสมุนไพรอบตัวให้นำสมุนไพรแห้งใส่ในถุงผ้าดิบแล้วต้มในน้ำเพื่อใช้ไอน้ำมาอบตัวในตู้อบ หรือกระโจม กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในสมุนไพร การบูรและพิมเสน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลายความเครียด การทำสมุนไพรลูกประคบนี้ นางนพพร บำรุงราษฎร์ สืบทอดมาจากบิดา
5. รายละเอียดภูมิปัญญา (ลักษณะภูมิปัญญา/รูปแบบ/วิธีการ/เทคนิคที่ใช้/ภาพถ่าย หรือภาพวาดประกอบ/พัฒนาการของผลิตภัณฑ์ หรือผลงาน/กระบวนการสร้างภูมิปัญญา/ลักษณะการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาที่เกิดขึ้น)
วัสดุ/อุปกรณ์ เขียง มีด หม้อดินปากเล็ก เตา ครก ผ้าด้ายดิบ เชือกด้าย กะละมัง ทัพพี ถาด
ส่วนวัตถุดิบประกอบอื่น ๆ ที่ใช้คือ หัวไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด (ผิว) ใบมะขาม เกลือ
วิธีการทำ
1. นำขมิ้นชัน หัวไพล ตะไคร้ มะกรูด มาล้างให้สะอาด ตากให้แห้งจนสะเด็ดน้ำ มะกรูดนำมาฝานเอาเฉพาะผิว
2. นำทั้งหมดมาหั่น เสร็จแล้วใส่ในครกตำหยาบ ๆ
3. นำสมุนไพรที่ตำหยาบ ๆ คลุกรวมกันในกะละมัง
4. นำสมุนไพรที่ผสมเข้าด้วยกันแล้วมาแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วใส่ลงบนผ้าดิบที่เตรียมไว้ ยกชายผ้าทั้งสี่มุมขึ้นแล้วใช้เชือกมัดให้แน่นเป็นลูกประคบ
6. รูปแบบและลักษณะการถ่ายทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ที่สะท้อนความน่าเชื่อถือ การยอมรับผ่านบุคคล/ชุมชน/องค์กร/รางวัล/ใบประกาศ/การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สื่อดิจิทัล/เอกสารเผยแพร่ คลิป VDO ฯลฯ)
- สอนคนในชุมชนให้สร้างอาชีพและรายได้เสริมได้
- ได้รับการยอมรับจากบุคคลในชุมชน
7. การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาให้เป็นนวัตกรรม คุณค่า (มูลค่า) และความภาคภูมิใจ การออกแบบ
ความภาคภูมิใจ คือ การสร้างรายได้ให้กับคนในครอบครัว และเป็นอาชีพเสริมให้กับตนเอง
8. แหล่งอ้างอิง : ผู้จัดเก็บข้อมูล (พร้อมเบอร์โทร/LINE ID)
นางสาวนัทนา บุษรากรณ์ ตำแหน่งครู กศน.ตำบล วันที่เก็บข้อมูล 8 มีนาคม 2563 หน่วยงาน/สถานศึกษา กศน.ตำบลกระแสบน กศน.อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โทร : 091-4052677 LINE ID : sayfon2677 E-mail : nattana.buntho@gmail.com
9. ผู้รวบรวมข้อมูล
นางสาวพัชญ์ธินันท์ ลู่สวัสดิกุล ตำแหน่งบรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอแกลง |