ระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้    |   หน้าหลัก    |   เว็บบล็อก    |   คู่มือสำหรับการฝึกอบรม    |   คู่มือระบบเชื่อมโยงฯ
ค้นหา :
  ขนาดตัวอักษร
      
  สมาชิกห้องสมุด  
  รหัสผู้ใช้ :
  รหัสผ่าน :
   สำหรับบรรณารักษ์
  งานบริการห้องสมุด
       สืบค้น หนังสือ/สื่อ
       หนังสือ จำแนกตามหมวดหมู่
       สื่อ จำแนกตามหมวดหมู่
       สมัครสมาชิกห้องสมุด
  สารสนเทศห้องสมุด
        หนังสือ (146)
        สื่อ (34)
        สมาชิก (328)
  เครือข่ายห้องสมุด (931)
       ห้องสมุดประชาชนจังหวัด (70)
       ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี " (111)
       ห้องสมุดประชาชนอำเภอ (744)
       หอสมุดรัชมังคลาภิเษก ฯ (1)
       ห้องสมุดสถาบันสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาค (2)
       ห้องสมุดอื่นๆ (3)
   เกี่ยวกับเรา
       ประวัติห้องสมุด (1)
       บุคลากร (3)
  ข้อมูลเผยแพร่
       กิจกรรมห้องสมุด (70)
       ลิงค์
           กิจกรรมส่งเสริมการอ่านบ้านหน...
           wikipedia (2)
           คลิปวิดีโอ (3)
       ข้อมูลบริการ
       องค์ความรู้
           การป้องกันตัวจากไวรัสโคโรนา ...
           "หนุมานประสานกาย"
       แบบฟอร์มสำรวจ (3)
  จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์
       จำนวนทั้งสิ้น : 2,450
 
 การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21
จากเว็บไซต์ https://www.unicef.org/thailand/th/stories/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2
  การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 (1)
คำว่า “การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21” ย้ำให้เห็นว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่ประเทศต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ และระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัว โดยไม่ใช่แค่การปฏิรูปเพียงครั้งคราว แต่ต้องเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของเยาวชน สังคมและตลาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งผู้กำหนดนโยบายและบุคลากรด้านการศึกษาของไทยที่ผู้เขียนมีโอกาสได้รู้จักล้วนตระหนักว่า การศึกษาควรจะมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนมีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและสอดคล้องกับสังคมในอนาคต แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในด้านการเข้าถึงการศึกษาในระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา รวมทั้งมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา แต่ประเทศไทยยังคงประสบความท้าทายอีกหลายประการ เช่น นักเรียนจำนวนมากยังไม่มีทักษะพื้นฐานที่ควรจะมี ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและในระดับระหว่างประเทศ หรืออัตราส่วนของเด็กที่ไม่ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษายังค่อนข้างสูง จึงทำให้เยาวชนจำนวนมากขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในโลกแห่งความเป็นจริง การปรับปรุงระบบการศึกษาและการพัฒนาทักษะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพ โอกาส และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และด้วยแนวโน้มการเป็นสังคมผู้สูงอายุและสัดส่วนของประชากรในวัยทำงานที่ลดลงเรื่อย ๆ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะคือปัจจัยสำคัญของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคต ดังนั้น คุณภาพของระบบการศึกษา ตลอดจนสมรรถนะและทักษะของผู้สำเร็จการศึกษา จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะตอบโจทย์ดังกล่าว จากเว็บไซต์ https://www.unicef.org/thailand/th/stories/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21
Loading...